ประวัติศาสตร์การบินของโลก

ประวัติศาสตร์การบินของโลก

ประวัติศาสตร์การบินของโลก

ประวัติศาสตร์การบินของโลก ถือได้ว่าเป้นเรื่องที่บางคนก้ยังไม่เคยทราบหรือรับรู้มาก่อน ว่าการบินของโลกนั้นมีที่ไปที่มาอย่างไรบ้าง วันนี้เราจึงได้นำข้อมูลหรือเกล็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ มาฝากทุกท่านกัน การบินนั้นถือได้ว่าเป็นความสวยงามเเละมีความอิสระ ที่สามารถเคลื่อนที่ไปได้ทุกที่ ทุกทิศทุกทาง เหนือสิ่งกรีดขว้าง ซึ่งถือได้ว่าเป็นเเรงบันดาลใจให้กับมนุษย์ ที่อยากจะมีอิสระ เเละโบยบินไปสุดขอบฟ้า แต่มนุษย์เราได้พยายามค้นหาวิธีการที่จะบินได้เฉกเช่นเดียวกับนก ดังจะเห็นได้จากประวัติศาสตร์การบิน ดังต่อไปนี้

ประวัติศาสตร์การบินของโลก

ค.ศ.1452-1519 เลโอนาโด ดา วินชี (Leonardo da Vinci) ศึกษารายละเอียดการบินของนกและวาดรูปจำลองต่างๆ ไว้กว่า 100 ภาพ ซึ่งเฮลิคอปเตอร์ที่ใช้ในยุคปัจจุบันมีต้นแบบมาจากแนวคิดของเขาเอง

ค.ศ.1783 พี่น้องตระกูลมงต์โกลฟิเย (Joseph and Jacques Montgolfier) ได้คิดทำบอลลูนที่เบากว่าอากาศ โดยเติมสิ่งที่เบากว่าอากาศเพื่อให้เกิดแรงยกที่เบากว่าอากาศ มีหลายชนิดได้แก่ ไอน้ำ ก๊าซไฮโดรเจน ต่อจากนั้นได้มีการคิดค้นเครื่องกลที่เบากว่าอากาศ และผู้ที่ประสบความสำเร็จในการสร้างยานที่เบากว่าอากาศ คือ เคาน์ แฟร์ดินานด์ ฟอน เชปปลิน (Count Ferdinand von Zeppelin)

ค.ศ.1804 จอร์จ เคลีย์ (George Cayley) ศึกษาการบินของนก ได้ออกแบบเครื่องร่อนโดยใช้หลักการจากว่าวกระดาษ สามารถร่อนไปได้ไกลถึง 60 ฟุต ต่อมาได้สร้างเต็มรูปแบบและประสบความสำเร็จในการร่อนจากเนินโดยไม่มีคนบังคับ ในปี ค.ศ.1809 ได้ตีพิมพ์ผลงานเรื่องการเดินอากาศ ซึ่งอธิบายถึงปัญหาของการบินอยู่ที่การทำให้พื้นผิวรับน้ำหนักที่กำหนดได้ โดยใช้กำลังต้านกับแรงต้านของอากาศ

ค.ศ.1891 แซมมวล แลงลีย์ (Samuel Langley) ได้ทำการทดลองเรื่องกฎการรับน้ำหนักของแพนอากาศ โดยใช้โต๊ะหมุนรอบๆ ตัวที่ปรับให้มุมชันขึ้นที่ละขั้นๆ ได้ และสร้างเครื่องบินจำลองปีกสองชั้น มีหาง และติดเรื่องยนต์ ต่อมาได้รับทุนให้สร้างเครื่องบิน 2 ปีกขนาดใหญ่ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ภายหลังจึงล้มเลิกไป

ค.ศ.1891 ออตโต ลิเลียนธาล (Otto Lilienthal) เป็นผู้สร้างเครื่องร่อนคนแรกของโลก เขาทำการบินร่อนมากกว่า 2,500 ครั้ง เครื่องร่อนของเขาใช้หลักแขวนตนเองไว้ที่กึ่งกลาง และใช้วิธีขยับตัวไปมาเพื่อถ่วงน้ำหนักให้เครื่องร่อนไปในทิศทางที่ต้องการ เขาเสียชีวิตเมื่ออายุ 48 ปี เนื่องจากเครื่องร่อนตกกระทบพื้น แต่การทดลองของเขาถือเป็นต้นแบบในการสร้างเครื่องบินรุ่นต่อๆ มา

ค.ศ.1900 สองพี่น้องตระกูลไรต์ (Orville and Wilbur Wright) เริ่มทดลองด้วยเครื่องร่อน ซึ่งสร้างขึ้นโดยใช้ข้อมูลของออตโต ลิเลียนธาล แต่การทดลองบินในช่วงนั้นประสบความล้มเหลวโดยตลอด ต่อมาทั้งคู่ตัดสินใจสร้างปีกขึ้นมาโดยใช้ข้อมูลที่ตนเองได้ศึกษา และสร้างเครื่องร่อนที่มีความยาวของปีกถึง 32 ฟุต และกว้าง 5 ฟุต

ถือเป็นยานลำแรกที่สามารถควบคุมการบินได้ทุกทิศทาง โดยได้ทำการทดลองบอนมากกว่า 800 เที่ยว ที่คิตตี ฮอว์ก (Kitty Hawk) และสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ จากนั้นในปี ค.ศ.1903 ทั้งสองได้ออกแบบยานใหม่ เป็นเครื่องบินสองเครื่องยนต์ ปีกสองชั้น โดยนำเครื่องยนต์กำลัง 12 แรงม้า มาติดไว้ที่กลางปีกสองชั้น

ถือเป็นกำเนิดของ “The Kitty Hawk Flyer” และได้ทดลองบินเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ.1903 ณ มลรัฐแคโรไลนา สหรัฐอเมริกา ถือเป็นประวัติศาสตร์การบินครั้งสำคัญที่อากาศยานประเภทหนักกว่าอากาศบินได้สำเร็จ หลังจากนั้นเป็นต้นมา ได้มีการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องบินหลากหลายรูปแบบจนถึงปัจจุบัน

ประวัติศาสตร์การบินของโลก

การขับเคลื่อนหรือเดินอากาศ

การเดินอากาศ มีประวัติความเป็นมาที่เป็นรูปธรรมมากกว่าสองร้อยปี ตั้งแต่มีการคิดค้นว่าว, ความพยายามร่อนโดยกระโดดจากหอสูง ไปจนถึงการสร้างอากาศยานที่มีความเร็วเหนือเสียงได้ อย่างไรก็ตามความคิดเรื่องพลศาสตร์การบินนั้นต้องย้อนไปถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 ที่เลโอนาร์โด ดา วินชี ได้เคยฝันถึงสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถบินได้ เขาได้พยายามออกแบบสิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวหลายชิ้น แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ

ในปี ค.ศ. 1670 ฟรันเซสโก ลานา เด เตรซี (Francesco Lana de Terzi) ได้ตีพิมพ์ชิ้นงานเสนอความคิดเรื่องความเป็นไปได้ของอากาศยานที่เบากว่าอากาศ (Lighter than air) การใช้วัตถุกลวงที่มีผิวเป็นฟอยล์ทองแดงบาง ๆ ในขณะที่ด้านในเป็นสุญญากาศอาจจะทำให้วัตถุนั้นเบากว่าอากาศจนสามารถยกเรือเหาะได้ อย่างไรก็ตามทฤษฎีดังกล่าวก็ตกไปเนื่องจากความจริงที่ว่าความดันอากาศที่แตกต่างอย่างมหาศาลนั้นจะทำให้เรือเหาะยุบตัว ทฤษฎีดังกล่าวในปัจจุบันถูกรู้จักในชื่อ “เรือเหาะสุญญากาศ” (Vacuum airship)

การค้นพบแก๊สไฮโดรเจนในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ได้นำไปสู่การคิดค้นบอลลูนไฮโดรเจนขึ้นมา ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่พี่น้องมงกอลฟีเย (Montgolfier) ได้สร้างบอลลูนอากาศร้อนขึ้นมาและเริ่มทำการบิน[1] ในขณะเดียวกันก็เป็นยุคที่วิศวกรและนักฟิสิกส์ได้สร้างทฤษฎีใหม่ๆขึ้นมา วิชาพลศาสตร์ของไหล และกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน ทำให้เซอร์จอร์จ เคย์ลีย์ (Sir George Cayley) วิศวกรชาวอังกฤษ สามารถพัฒนาไปสู่วิชาอากาศพลศาสตร์สมัยใหม่ (Modern aerodynamics) และทำให้เขาได้รับขนานนามเป็น “บิดาแห่งเครื่องบิน”

ที่เที่ยวสุโขทัย เมืองแสนสงบ อีกหนึ่งจังหวัดที่มีที่น่าเที่ยว ที่ไม่ควรมองข้ามเลยล่ะ ที่เที่ยวสุโขทัย มีความหลากหลาย ทั้งในด้านของการเป็นเมืองมรดกโลก นอกจากจะได้สัมผัสความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรเก่าแก่ผ่าน

บทความน่าสนใจ : ภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องแรกของโลก ความบันเทิงจากลายเส้น