ย้อนประวัติศาสตร์ ฟาโรห์หญิง 6 พระองค์ของอียิปต์

ย้อนประวัติศาสตร์ ฟาโรห์หญิง 6 พระองค์ของอียิปต์

ย้อนประวัติศาสตร์ ฟาโรห์หญิง 6 พระองค์ของอียิปต์

ย้อนประวัติศาสตร์ ฟาโรห์หญิง 6 พระองค์ของอียิปต์ เรื่องราวประวัติศาสตร์ของอียิปต์ ถือเป็นเรื่องที่น่าค้นหา และน่าศึกษามากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก เพราะนอกจากความน่าสะพรึงของประติมากรรมพีระมิดที่เลื่องลือไปทั่วโลกแล้ว ยังมีเรื่องของฟาโรห์พระองค์ต่าง ๆ ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน หลายคนที่ไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของอียิปต์อย่างจริงจัง อาจจะคิดว่าฟาโรห์นั้นมีแต่ชายเท่านั้น แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะฟาโรห์ของอียิปต์นั้น มีการพบหลักฐานเป็นหญิงด้วย ซึ่งวันนี้เราจะพาผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์ทุกท่าน ไปดูประวัติของฟาโรห์หญิง 6 พระองค์ที่ถูกค้นพบ ว่าถูกค้นพบที่ไหน และเมื่อไหร่บ้าง!

ย้อนประวัติศาสตร์ ฟาโรห์หญิง 6 พระองค์ของอียิปต์

รู้จักประวัติศาสตร์อียิปต์แบบคร่าว ๆ

ประวัติศาสตร์ของอียิปต์ค่อย ๆ เลือนหายไป เมื่อความรู้ในการอ่านเขียนภาษาอียิปต์โบราณ ที่ชาว กรีกเรียกว่า ไฮโรกลิฟ (Hieroglyph ซึ่งแปลว่าสัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์) ได้สูญสิ้นไปตามกาลเวลา โดยเริ่มจากการเปลี่ยนเป็นภาษากรีก เมื่อศาสนาคริสต์ได้แผ่เข้ามายังอียิปต์ซึ่งในขณะนั้นมีฐานะเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรไบแซนทีน (Byzantine) แต่ก็เป็นภาษาที่ไม่มีอะไรเชื่อมโยงกับประวัติความเป็นมาของอียิปต์โบราณอีกต่อไป จึงกล่าวได้โดยรวมว่า ภาษาอียิปต์โบราณได้ตายจากไปเกือบ 1,500 ปีแล้ว

แม้ว่าจะมีนักปราชญ์ทางภาษาหลายคน พอจะจับเค้าการอ่านภาษาอียิปต์โบราณได้บ้าง แต่ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการอ่านได้โดยสมบูรณ์คือ ฌอง– ฟรองซัวร์ ฌองโปลิยง (Jean-François Champollion) ผลงานเขียนของเขาถือเป็นตำราพื้นฐานในการศึกษาภาษาอียิปต์โบราณตลอดมา โดยผลการศึกษาของฌองโปลิยง ได้ทำให้นักประวัติศาสตร์รุ่นต่อมามีกุญแจสำคัญที่จะไขเข้าไปสู่เรื่องราวต่าง ๆ ที่เป็นอดีตอันไกลโพ้นของอียิปต์ ทั้งเรื่องชีวิต, ความเป็นอยู่, ความเชื่อศาสนา, เศรษฐกิจ, การ ทหาร, สงคราม, การปกครองโดยเฉพาะกษัตริย์ ที่มีฐานะกึ่งเทพเจ้าและเราเรียกกันต่อ ๆ มาในภาษาอังกฤษว่า ฟาโรห์ (Pharaoh) นั่นเอง

ว่ากันว่าในช่วงเวลาเกือบ 3,000 ปี ของประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณนั้น มีฟาโรห์ประมาณ 170 พระองค์ จาก 72 ราชวงศ์ ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นครองราชย์สืบต่อเนื่องมา จากนั้นนักโบราณคดีก็พยายามค้นหามัมมี่ของกษัตริย์ หรือบุคคลสำคัญตามรายพระนาม/รายนามที่มีอยู่ ซึ่งก็ประสบความสำเร็จในการค้นพบแตกต่างกันไป  เช่น ค้นพบมัมมี่พระศพฟาโรห์ที่สำคัญอย่าง รามเสสที่ 2 (Ramesses II) เซติที่ 1 (Seyt I) ธุตโมสิสที่ 1-3 (Thutmosis I-III) เป็นต้น โดยบุคคลสำคัญมาก ๆ อีกพระองค์หนึ่ง ซึ่งเป็นที่หมายปองของนักโบราณคดีคือ พระนางฮัตเชปสุต (Hatshepsut) ฟาโรห์สตรีผู้ครองราช์อยู่นานกว่า 20 ปี และเป็นยุคสมัยที่จัดว่าเจริญรุ่งเรืองที่สุดสมัยหนึ่ง

ย้อนประวัติศาสตร์ ฟาโรห์หญิง 6 พระองค์ของอียิปต์

พระนางฮัตเซปสุต เป็นพระราชธิดาของฟาโรห์ธุตโมสิสที่ 1 ((Thutmosis I ครองราชย์ระหว่างปี 1504-1492 ก่อนคริสตกาล) แต่ต้องแต่งงานกับพี่ชาย (หรือน้องชาย) ของพระนางเอง นามว่า ธุตโมสิสที่ 2 (ซึ่งครองราชย์อยู่ระหว่าง 1492-1479 ก่อนคริสตกาล) ต่อมาเมื่อสวามีของพระองค์สิ้นพระชนม์ลง พระนางฮัตเชปสุตก็ก้าวขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการ โดยใช้อำนาจร่วมกันกับโอรสบุญธรรมอยู่ 3 ปี พอมาถึงปีที่ 3 พระนางก็ประกาศตนเป็นฟาโรห์ และปกครองโดยลำพังต่อไปถึง 21 ปีกว่า (1479-1458/7 ก่อนคริสตกาล)

ซึ่งในรัชสมัยของพระนาง อียิปต์ได้ขยายการค้ากว้างไกลไปยังพันต์ (Punt) และนูเบีย ที่อยู่ลึกลงไปในทวีปแอฟริกา ดังที่ปรากฏอยู่ในภาพจำหลักบนฝาผนังของมหาวิหารบูชาพระนางเอง ในหุบผาแห่งกษัตริย์บริเวณที่ปัจจุบันเรียกว่า ดีร์ เอล บาฮารี (Deir el-BA-hari) ซึ่งส่วนหนึ่งของภาพจำหลัก เป็นรูปการลำเลียงเรือข้ามทะเลทรายฟากทิศตะวันออก จนกระทั่งถึงทะเลแดง แล้วจึงแล่นในเลาะชายฝั่งลงไปทางใต้ ต่อจากนั้นจึงเดินเท้าไปยังดินแดนพันต์ และนุเยีย เพื่อเอาสิ่งมีค่า 2 ชนิด คือ ผงทองคำ และยางไม้หอมซึ่งใช้เป็นเครื่องหอมในพิธีสำคัญ อย่างการทำมัมมี่นั่นเอง

นอกจากนี้ยังมีภาพจำหลักของพระนางฮัตเชปสุต ซึ่งแต่งพระองค์เช่นเดียวกับฟาโรห์ชาย คือ นุ่งผ้าอัดเป็นกลีบละเอียด นุ่งโดยโอบรอบสะโพกมาทบกันด้านหน้า ผ้านุ่งยาวถึงเข่า เปิดเผยให้เห็นช่วงขาที่เปลือยเปล่าเช่นเดียวกับเบื้องพระองค์ท่อนบน ผิวเป็นสีน้ำตาลแดง สวมกรองพระศอขนาดใหญ่ทำด้วยทองคำ ศิราภรณ์นั้นมีต่าง ๆ แล้วแต่วาระที่กำลังกระทำ และที่สำคัญคือ จะต้องทรงประดับเคราปลอม (ceremonial beard) ที่ใต้คางอย่างที่ฟาโรห์ทุกพระองค์มี พระองค์ทรงเฉลิมพระนามในฐานะฟาโรห์ว่า “มาอัตคารา (Maatkara) ซึ่งมีความหมายว่าผู้เป็นที่รักของสุริยเทพอามูน และได้รับพรให้มีชีวิตนิ รันดร์ นั่นเอง

ย้อนประวัติศาสตร์ ฟาโรห์หญิง 6 พระองค์ของอียิปต์

ฟาโรห์หญิง 6 พระองค์ ที่ถูกค้นพบ

1. นิโตคริส (Nitocris)

นิโตคริส (Nitocris) ทรงครองราชย์อยู่ประมาณ 3 ปี ระหว่าง 2218-2216 ก่อนคริสตกาล โดยไม่มีประวัติชัดแจ้ง ยกเว้นถูกกล่าวถึงโดยเฮโรโดตัส (Herodotus) ที่ทำให้รู้ว่าน่าจะมีอยู่จริง

2. เนฟรูโซเบก (Nefrusobek)

เนฟรูโซเบก (Nefrusobek) ทรงครองอำนาจ 4 ปี ระหว่าง 1785-1781 ก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นการครองอำนาจต่อจากฟาโรห์อาเมนเนมฮัตที่ 4 (Amenemhat IV) พี่ชายและพระสวามีของพระนางเอง

3. ฮัตเชปสุต (Hatshepsut)

ฮัตเชปสุต (Hatshepsut) ทรงครองอำนาจต่อจากธุตโมสิสที่ 2 พี่(น้อง)ชาย/สวามีที่สิ้นพระองค์ ทรงครองราชย์ในฐานะฟาโรห์สตรีต่อไปยาวนานถึง 21 ปี

4. เนเฟอร์ตีติ (Nefertiti)

เนเฟอร์ตีติ (Nefertiti) เป็นฟาโรห์หญิงที่ทรงมีบทบาทในการบริหาร ร่วมกับฟาโรห์อาเมนโฮเตปที่ 4 ทั้งสองร่วมกันใช้อำนาตจากปี 1346-1333

5. เทาสเรต (Tausret)

เทาสเรต (Tausret) เป็นมเหสีของฟาโรห์เซติที่ 2 (Seti II) เมื่อฟาโรห์สิ้นพระชนม์ลง พระนางได้ใช้อำนาจร่วมกับฟาโรห์ซิปทาห์ (Siptah) โอรสบุญธรรม ขึ้นครองอำนาจในระหว่างปี 1193-1185 ก่อนคริสตกาล

6. พระนางคลีโอพัตราที่ 7 (Cleopatra VII)

พระนางคลีโอพัตราที่ 7 (Cleopatra VII) น่าจะเป็นฟาโรห์หญิง ที่คนรักประวัติศาสตร์ หรือสนใจในประวัติศาสตร์รู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะเป็นฟาโรห์องค์สดุท้ายของราชวงศ์  ปโตเลมี (Ptolemy) อันเป็นราชวงศ์สุดท้ายของอียิปต์โบราณ ก่อนจะตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรโรมันในเวลาต่อมา พระนางมักถูกวาดภาพให้เป็นหญิงงามแต่แพศยาด้วยทัศนะ ของนักประวัติศาสตร์ชายชาวโรมัน ซึ่งต้องการทำลายความชอบธรรมในการครองอำนาจของพระนางร่วมกับกับจูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar) นั่นเอง

10 น้ำตกที่ไม่ควรพลาดเมื่อมาไทย ประเทศไทยถือได้ว่า เป็นประเทศที่มีภูมิทัศน์เรื่องธรรมชาติดีเลิศจริงๆ เพรามีน้ำตก ภูเขา หรือสถานที่ท่องเที่ยวที่เกี่ยวกับธรรมชาติเยอะเเยะมากมาย

บทความน่าสนใจ : บันทึกลับที่กลายเป็นส่วนสำคัญในประวัติศาสตร์ของ แอนน์ แฟร้งค์