ประวัติศาสตร์ราชวงศ์ญี่ปุ่น

ประวัติศาสตร์ราชวงศ์ญี่ปุ่น

หลังจากสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะได้สละราชสมบัติของบัลลังก์ดอกเบญจมาศไปแล้ว อนาคตของตำแหน่ง จักรพรรดิญี่ปุ่น ก็ยังคงคลุมเครือ เป็นระยะเวลากว่า 2,600 ปีมาแล้วที่มีราชวงศ์เพียงหนึ่งเดียวเป็น ผู้ครองบัลลังก์จักรพรรดิ ของญี่ปุ่น ราชวงศ์ที่สืบเชื้อสายมายาวนานที่สุดในโลกนี้ แสดงความเชื่อมโยงกับเทพเจ้าในศาสนาชินโต ราชวงศ์ญี่ปุ่นเริ่มปรากฏขึ้นตั้งแต่ 660 ปีก่อนคริสตกาล และมีหลักฐาน ของราชวงศ์ ที่ปรากฏชัดเจน เมื่อราวปีคริสต์ศตวรรษที่ 300 ปัจจุบัน ราชวงศ์ญี่ปุ่น มีบทบาท เชิงสัญลักษณ์ แต่ไม่ได้มีอำนาจ ในการบริหาร บ้านเมืองญี่ปุ่น แต่อย่างใด แม้ว่าจะมีบทบาท ที่สำคัญในเชิงประเพณี ของประเทศก็ตาม

ประวัติศาสตร์ราชวงศ์ญี่ปุ่น

ราชวงศ์ของญี่ปุ่น เริ่มต้นจากจักรพรรดิจิมมุ สันนิษฐานว่าพระองค์ได้ครองบัลลังก์เมื่อ 660 ปีก่อนคริสตกาลหลังจากรบชนะ เหนือหัวหน้าเผ่าท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม จักรพรรดิจิมมุถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ในตำนานของราชวงศ์ญี่ปุ่นเท่านั้น โดยนักวิชาการคาดเดากันว่าจักรพรรดิจิมมุ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นทายาทของเทพเจ้าอามาเทราสึ ผู้เป็นสุริยะเทวีผู้ปกครองญี่ปุ่นนั้นเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมในยุคสมัยยาโยอิของญี่ปุ่น (300 ปีก่อนคริสต์กาล – คริสต์ศักราชที่ 300 ) ซึ่งเป็นยุคเริ่มต้นการเพาะปลูก โดยจักรพรรดิจิมมุขึ้นครองบัลลังก์เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ซึ่งชาวญี่ปุ่นถือวันนี้เป็นวันชาติ

บรรดาทายาทของจักรพรรดิจิมมุได้ครองราชย์สืบต่อมาในอาณาจักรที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยตลอดช่วงเวลาหลายศตวรรษ ลักษณะและที่มาของอำนาจของจักรพรรดินั้นแตกต่างกันไป ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่หก จักรพรรดิมีหน้าที่ในการติดต่อกับเทพเจ้า ซึ่งหน้าที่นี้ไม่ได้มีนัยยะในเชิงการเมือง ในบางยุคสมัยของประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น จักรพรรดิถูกมองว่าเป็นตัวแทนของเทพเจ้า แต่ไม่ได้ถูกนับถือว่าเป็นเทพเจ้าแต่อย่างใด

ในช่วงที่การปกครอง ในระบบชนชั้นซามูไร (นักรบ) เติบโตในญี่ปุ่นตั้งแต่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่สิบ เป็นต้นมา อิทธิพลของสถาบันพระจักรพรรดิ ก็เริ่มไม่ชัดเจน เนื่องจากพระจักรพรรดิถูกจำกัดอำนาจในการปกครองประชาชน จากพระราชวังหลวง ในเมืองเกียวโต (เมืองหลวงเก่าของญี่ปุ่น) โดยอำนาจในการปกครองตกอยู่ในมือ ของรัฐบาลโชกุน หรือรัฐบาลทหารที่เป็นผู้ปกครอง เหล่าซามูไรทั่วญี่ปุ่น โดยระบบการปกครองของรัฐบาลโชกุนได้ปกครองประชาชนในนามของพระจักรพรรดิ จนกระทั่งถึงช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19

ระบบโชกุนได้สิ้นสุดลงในปี 1868 และเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติเมจิในยุคสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิของญี่ปุ่น โดยในยุคนี้มีการเปลี่ยนแปลงให้สมเด็จพระจักรพรรดิมาพำนักที่กรุงโตเกียว และเป็นผู้นำในการปกครองประชาชนชาวญี่ปุ่น จักรพรรดิญี่ปุ่นจึงเปลี่ยนจากการเป็นเพียงสัญลักษณ์ของชาติมาถืออำนาจในการปกครองโดยตรง

หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด มีการเปลี่ยนบทบาทของพระจักรพรรดิอีกครั้ง โดยสหรัฐอเมริกา ผู้มีชัยเหนือญี่ปุ่นในสงครามได้บังคับให้สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ ซึ่งถือว่าพระองค์เป็นผู้นำญี่ปุ่นในการทำสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร ให้สละสถานะของการเป็นสมมติเทพของพระองค์เสีย และสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะเป็นผู้ให้ความชอบธรรมในรัฐธรรมนูญของญี่ปุ่น ฉบับปี 1947 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ทำลายระบอบอภิชนาธิปไตย (Aristocracy – การปกครองโดยกลุ่มบุคคลซึ่งเป็นชนชั้นนำของสังคม) ส่งผลให้จักรพรรดิกลายเป็น “สัญลักษณ์” ของประเทศญี่ปุ่นตามกฎหมาย มาจนถึงทุกวันนี้

ปัจจุบัน ราชวงศ์ญี่ปุ่นสมาชิกเพียงแค่ 18 พระองค์เท่านั้น และราชวงศ์กำลังถูกทุกคามโดยกฎการสืบสันตติวงศ์ที่ห้ามมิให้ผู้หญิงขึ้นครองบัลลังก์ แม้ว่าตามประเพณีแล้วจักรพรรดิญี่ปุ่นจะต้องครองบัลลังก์จนสวรรคต จักรพรรดิอากิฮิโตะ ผู้เป็นพระโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะได้สละราชสมบัติในวันที่ 30 เมษายน 2019 เนื่องจากเหตุผลทางสุขภาพ ด้วยเหตุนี้ บัลลังก์ขององค์มกุฎราชกุมารนารุฮิโตะจะเหลือผู้สืบสันตติวงศ์เพียงแค่ 3 พระองค์เท่านั้น

นอกจากนี้ ได้มีจำนวนสมาชิกที่เป็นผู้หญิงของราชวงศ์ญี่ปุ่นส่วนหนึ่งได้สละฐานันดรศักดิ์เพื่อไปเสกสมรสกับสามัญชน แม้ว่าในอดีตประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นจะเคยมีจักรพรรดินีปกครอง กฎผู้ที่ครองบัลลังก์จักรพรรดิต้องเป็นผู้ชายเท่านั้นก็ยังคงอยู่ และนี่จะเป็นบททดสอบของรัฐบาลญี่ปุ่นที่จะต้องหาทางออกให้กับวิกฤตการณ์นี้ ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนว่าญี่ปุ่นจะยอมแหวกม่านประเพณีที่สืบทอดมานานหรือไม่

1 เม.ย. นายโยชิฮิเดะ ซึกะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้แถลงการณ์ ประกาศชื่อยุคสมัยอย่างเป็นทางการแล้วในช่วงเช้าที่ผ่านมา โดยเลือกคำว่า “เรวะ” ซึ่งมีความหมายว่า “ความสงบที่สำคัญและความกลมเกลียว”

สมาชิกในราชวงศ์ญี่ปุ่นยุคเรวะ

ราชวงศ์ดอกเบญจมาศของญี่ปุ่นมีประวัติการสืบทอดราชบัลลังก์มาอย่างยาวนาน ในปัจจุบันญี่ปุ่นเป็นเพียงประเทศเดียวในโลกยุคสมัยใหม่ที่ยังคงเรียกประมุขของประเทศว่า ‘จักรพรรดิ (Emperor)’ โดยสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะจะทรงสละราชสมบัติในวันที่ 30 เมษายนนี้ พร้อมส่งต่อพระราชอำนาจให้แก่เจ้าชายนารุฮิโตะ มกุฎราชกุมาร ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2019

สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะทรงเป็นพระราชบุตรพระองค์ที่ 5

สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะทรงเป็นพระราชบุตรพระองค์ที่ 5 จาก 7 พระองค์ และทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์โตในสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ (จักรพรรดิโชวะ) และสมเด็จพระจักรพรรดินีนางาโกะ (จักรพรรดินีโคจุง) มีพระราชอนุชา 1 พระองค์ คือ เจ้าชายมาซาฮิโตะ ซึ่งทรงเป็นทายาทสืบพระราชบัลลังก์ลำดับที่ 4 แห่งราชวงศ์ญี่ปุ่นในขณะนี้

สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อภิเษกสมรสกับหญิงสามัญชน ครั้นยังทรงดำรงตำแหน่งมกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น เมื่อปี 1956 สมเด็จพระจักรพรรดิและสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดารวม 3 พระองค์ ได้แก่ เจ้าชายนารุฮิโตะ มกุฎราชกุมาร เจ้าชายฟุมิฮิโตะ และ ซายาโกะ คุโรดะ ที่สละฐานันดรศักดิ์ และใช้ชีวิตเยี่ยงสามัญชนกับชายหนุ่มผู้เป็นที่รัก

เจ้าชายนารุฮิโตะ มกุฎราชกุมาร

เจ้าชายนารุฮิโตะ มกุฎราชกุมาร จะทรงขึ้นครองราชย์ในฐานะสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น พระองค์ที่ 126 เริ่มต้นรัชสมัยเรวะ (Reiwa) อย่างเป็นทางการ เจ้าหญิงมาซาโกะ มกุฎราชกุมารีแห่งญี่ปุ่น พระวรชายา จะได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีพระองค์ใหม่แห่งญี่ปุ่น โดยทั้ง 2 พระองค์ มีพระราชธิดาร่วมกัน 1 พระองค์ คือ เจ้าหญิงไอโกะ ซึ่งอาจได้ดำรงพระสถานะมกุฎราชกุมารีในช่วงเวลาต่อมา แต่ไม่มีสิทธิ์ในการสืบราชบัลลังก์ต่อจากพระราชบิดา เนื่องจากถูกสงวนไว้ให้แก่พระรัชทายาทที่เป็นเพศชายเท่านั้น ตามที่ได้ระบุไว้ในกฎมณเฑียรบาล

คาดการณ์ว่า ภายหลังจากพระราชพิธีสละราชสมบัติและพระราชพิธีขึ้นครองราชย์แล้ว สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะจะทรงดำรงพระสถานะ ‘สมเด็จพระจักรพรรดิพระเจ้าหลวง (Emperor Emeritus)’ ในขณะที่สมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะก็จะทรงทรงดำรงพระสถานะ ‘สมเด็จพระจักรพรรดินีพระพันปีหลวง (Empress Emerita)’ ต่อจากสมเด็จพระจักรพรรดินีโคจุง สมเด็จพระจักรพรรดินีพระพันปีหลวงพระองค์ก่อนหน้าที่สวรรคตเมื่อช่วงกลางปี 2000 ที่ผ่านมา

เจ้าชายฟุมิฮิโตะ พระราชอนุชาในสมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์ใหม่ อาจได้รับการสถาปนาขึ้นดำรงพระสถานะ พระรัชทายาทลำดับที่ 1 ต่อจากพระเชษฐาของพระองค์ เจ้าชายฟุมิฮิโตะและเจ้าหญิงกิโกะ ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดารวม 3 พระองค์ ได้แก่ เจ้าหญิงมาโกะ (ที่ทรงเตรียมสละฐานันดรศักดิ์) เจ้าหญิงคาโกะและเจ้าชายฮิซะฮิโตะ ซึ่งทรงเป็นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวของ ราชวงศ์ญี่ปุ่น ในช่วงเวลานี้ นับตั้งแต่เจ้าชายฟุมิฮิโตะ ผู้เป็นพระบิดา ประสูติเมื่อปี 1965

เทรนด์อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ มาแรงสุดๆ ฉบับปี 2020 อย่างที่เรารู้กันดีว่าเทคโนโลยีในโลกเรานั้น มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และดีขึ้นในทุกๆวัน ในแต่ละปี ก็จะมีการอัพเดต เทรนด์อุปกรณ์ ไฮเทคต่างๆอยู่เสมอ

อ่านบทความน่าสนใจเพิ่มเติม : การตายของเจ้าหญิงไดอานา โศกนาฏกรรมโลกไม่ลืม